วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ความหมายของการสื่อสารข้อมูล
การสื่อสารข้อมูล หมายถึง การโอนถ่าย (Transmission) ข้อมูลหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างต้นทางกับปลายทาง โดยใช้อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีตัวกลาง เช่น ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์สำหรับควบคุมการส่งและการไหลของข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง นอกจากนี้อาจจะมีผู้รับผิดชอบในการกำหนดกฎเกณฑ์ในการส่งหรือรับข้อมูลตามรูปแบบที่ต้องการ
องค์ประกอบพื้นฐานของระบบสื่อสารข้อมูล
การสื่อสารข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์นั้น จะทำได้ก็ต่อเมื่อมีองค์ประกอบต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1. ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender)
ข้อมูลต่างๆ ที่อยู่ต้นทางจะต้องจัดเตรียมนำเข้าสู่อุปกรณ์สำหรับส่งข้อมูล ซึ่งได้แก่เครื่องพิมพ์ หรืออุปกรณ์ควบคุมต่าง ๆ จานไมโครเวฟ จานดาวเทียม ซึ่งข้อมูลเหล่านั้นถูกเปลี่ยนให้อยู่ใน รูปแบบที่สามารถส่งข้อมูลนั้นได้ก่อน
2. ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver)
ข้อมูลที่ถูกส่งจากอุปกรณ์ส่งข้อมูลต้นทาง เมื่อไปถึงปลายทางก็จะมีอุปกรณ์สำหรับ รับข้อมูลเหล่านั้นเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป อุปกรณ์เหล่านี้ได้แก่ เครื่องพิมพ์ คอมพิวเตอร์ จานไมโครเวฟ จานดาวเทียม ฯลฯ
3. โปรโตคอล  (Protocol)
โปรโตคอล คือ กฎระเบียบ หรือวิธีการใช้เป็นข้อกำหนดสำหรับการสื่อสาร เพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งเข้าใจกันได้ ซึ่งมีหลายชนิดให้เลือกใช้ เช่น TCP/IP, X.25, SDLC  เป็นต้น
4. ซอฟต์แวร์ (Software)
การส่งข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีโปรแกรมสำหรับดำเนินการ และควบคุมการส่งข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อมูลตามที่กำหนดไว้ ได้แก่ Novell’s Netware, UNIX, Windows NT, Windows 2003 ฯลฯ
5. ข่าวสาร (Message)
เป็นรายละเอียดซึ่งอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ ที่จะส่งผ่านระบบการสื่อสาร ซึ่งมีหลายรูปแบบดังนี้
5.1  ข้อมูล (Data)  เป็นรายละเอียดของสิ่งต่าง ๆ ซึ่งถูกสร้างและจัดเก็บด้วยคอมพิวเตอร์ มีรูปแบบแน่นอน เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า เป็นต้น ข้อมูลสามารถนับจำนวนได้และส่งผ่านระบบสื่อสารได้เร็ว
5.2  ข้อความ (Text)  อยู่ในรูปของเอกสารหรือตัวอักขระ ไม่มีรูปแบบที่แน่นอน ชัดเจนนับจำนวนได้ค่อนข้างยาก และมีความสามารถในการส่งปานกลาง
5.3 รูปภาพ (Image)  เป็นข่าวสารที่อยู่ในรูปของภาพกราฟิกแบบต่าง ๆ ได้แก่ รูปภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพวีดีโอ ซึ่งข้อมูลชนิดนี้จะต้องอาศัยสื่อสำหรับเก็บ และใช้หน่วยความจำเป็นจำนวนมาก
5.4  เสียง (Voice)  อยู่ในรูปของเสียงพูด เสียงดนตรี หรือเสียงอื่น ๆ ข้อมูลชนิดนี้จะกระจัดกระจาย ไม่สามารถวัดขนาดที่แน่นอนได้ การส่งจะทำได้ด้วยความเร็ว ค่อนข้างต่ำ
6. ตัวกลาง (Medium)
เป็นตัวกลางหรือสื่อกลางที่ทำหน้าที่นำข่าวสารในรูปแบบต่าง ๆ จากผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งต้นทางไปยังผู้รับ หรืออุปกรณ์รับปลายทาง ซึ่งมีหลายรูปแบบได้แก่ สายไป ขดลวด สายเคเบิล สายไฟเบอร์ออฟติก ตัวกลางอาจจะอยู่ในรูปของคลื่นที่ส่งผ่านทางอากาศ เช่น คลื่นไมโครเวฟ คลื่นดาวเทียม หรือคลื่นวิทยุ เป็นต้น
ชนิดของสัญญาณข้อมูล
1. สัญญาณแอนะล็อก(Analog Signal)
เป็นสัญญาณแบบต่อเนื่อง มีลักษณะเป็นคลื่นไซน์ (Sine Wave) โดยที่แต่ละคลื่นจะมีความถี่และความเข้มของสัญญาณที่ต่างกัน เมื่อนำสัญญาณข้อมูลเหล่านี้มาผ่านอุปกรณ์รับสัญญาณและแปลงสัญญาณและแปลง สัญญาณก็จะได้ข้อมูลที่ต้องการ
เฮิรตซ์ (Hertz) คือหน่วยวัดความถี่ของสัญญาณข้อมูลแบบแอนะล็อก วิธีวัดความถี่จะนับจำนวนรอบของสัญญาณที่เกิดขึ้นภายใน 1 วินาที เช่น ความถี่ 60 Hz หมายถึง ใน 1 วินาที สัญญาณมีการเปลี่ยนแปลงระดับสัญญาณ 60 รอบ
2.
สัญญาณดิจิทัล(Digital Signal)
สัญญาณดิจิทัลเป็นสัญญาณแบบไม่ต่อเนื่อง รูปสัญญาณของสัญญาณมีความเปลี่ยนแปลงที่ไม่ปะติดปะต่ออย่างสัญญาณแอนะล็อก ในการสื่อสารด้วยสัญญาณดิจิทัล ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นเลขฐานสอง (0และ1) จะถูกแทนด้วยสัญญาณดิจิทัล Bit Rate เป็นอัตราความเร็วในการส่งข้อมูลแบบดิจิทัล วิธีวัดความเร็วจะนับจำนวนบิตข้อมูลที่ส่งได้ในช่วงระยะเวลา 1 วินาที เช่น 14,400 bps หมายถึง มีความเร็วในการส่งข้อมูลจำนวน 14,4001 บิตในระยะเวลา 1 วินาที
โมเด็ม(Modulator DEModulator หรือ Modem)
โมเด็ม(Modem) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณดิจิทัลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็น สัญญาณแอนะล็อก ความเร็วในการสื่อสารข้อมูลของโมเด็มวันเป็นบิตต่อวินาที (bit per second หรือ bps) ความเร็วของโมเด็มโดยทั่วไปมีความเร็วเป็น 56 กิโลบิตต่อวินาที
ทิศทางการส่งข้อมูล(Transmission Mode) สามารถจำแนกทิศทางการส่งข้อมูลได้ 3 รูปแบบ
1.
การส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียว (Simplex Transmission)
2.
การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางสลับกัน (Half-Duplex Transmission)
3.
การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางพร้อมกัน (Full-Duplex Transmission) 
 UploadImage

ตัวกลางการสื่อสาร
1.
สื่อนำข้อมูลแบบมีสาย(Wired Media) สื่อข้อมูลแบบมีสายที่นิยมใช้มี 3 ชนิดดังนี้
-
สายคู่บิดเกลียว (Twisted-Pair Cable)
สายคู่บิดเกลียว เป็นสายสัญญาณนำข้อมูลไฟฟ้า สายแต่ละเส้นมีลักษณะคล้ายสายไฟทั่วไป จำนวนสายจะมีเป็นคู่ เช่น 2 , 4 หรือ 6 เส้น แต่ละคู่จะมีพันบิดเกลียว การบิดเกลียวนี้จะช่วยลดสัญญาณรบกวนที่เกิดขึ้นในการส่งข้อมูล ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้ไกลกว่าปกติ
-
สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable)
สายโคแอกเชียล เป็นสายสัญญาณนำข้อมูลไฟฟ้า มีความถี่ในการส่งข้อมูลประมาณ 100 MHz ถึง500 MHz สายโคแอกเชียลมีความมเร็วในการส่งข้อมูลและราคาสูงกว่าสายบิดเกลียว
-
สายใยแก้วนำแสง(Optical Fiber Cable)
สายสัญญาณทำจากใยแก้วหรือสารนำแสงหุ้มด้วยวัสดุป้องกันแสง มีความเร็วในการส่งสูงกับความเร็วแสง สามารถใช้ในการส่งข้อมูลที่มีความถี่สูงได้ สัญญาณที่ส่งผ่านสายใยแก้วนำแสง คือ แสง และ สัญญาณรบกวนจากภายนอกมีเพียงอย่างเดียว คือ แสงจากภายนอก
2.
สื่อนำข้อมูลแบบไร้สาย(Wireless Media) การสื่อสารข้อมูลแบบไร้สาย จะใช้อากาศเป็นตัวกลางของการสื่อสาร เช่น
-
แสงอินฟราเรด (Infrared) เป็นการสื่อสารข้อมูลโดยใช้แสงอินฟราเรดเป็นสื่อกลาง การสื่อสารประเภทนี้นิยมใช้สำหรับการสือสารข้อมูลระยะใกล้ เช่น การสื่อการจากรีโมทคอนโทรลไปยังเครื่องรับวิทยุหรือโทรทัศน์
-
สัญญาณวิทยุ (Radio Wave) เป็นสื่อนำข้อมูลแบบไร้สาย (Wireless Media) ที่มีการส่งข้อมูลเป็นสัญญาณคลื่อนวิทยุไปในอากาศไปยังตัวรับสัญญาณ
-
ไมโครเวฟภาคพื้นดิน (Terrestrial Microwave) เป็นการสื่อสารไรสายอีกประเภทหนึ่ง การสื่อสารประเภทนี้จะมีเสาส่งสัญญาณไมโครเวฟที่อยู่ห่างๆ กัน ทำการส่งข้อมูลไปในอากาศไปยังเสารับข้อมูล
-
การสื่อสารผ่านดาวเทียม (Satellite Communication) เป็นการสื่อสารจากพื้นโลกที่มีการส่งสัญญาณข้อมูลไปยังดาวเทียม โดยดาวเทียมจะทำหน้าที่เป็นสถานีทวนสัญญาณ เพื่อจัดส่งสัญญาณต่อไปยังสถานีภาพพื้นดินอื่นๆ ระยะทางจะโลกถึงดาวเทียมประมาณ 22,000 ไมล์
หลักเกณฑ์การพิจารณาเลือกสื่อนำข้อมูล
1. ราคา
2.
ความเร็ว
3.
ระยะทาง
4.
สัญญาณรบกวนที่อาจจะเกิดขึ้น
5.
ความปลอดภัยของข้อมูล
มาตรฐานเครื่อข่ายไร้สาย (Wireless Networking Protocols)
1.
บลูทูธ (Bluetooth)
2.
ไวไฟ (Wi-Fi)
3.
ไว-แมกซ์ (Wi-MAX)

ที่มา : www.blog.eduzones.com

วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ตัวอย่างสารคดี(เกี่ยวกับขยะ)


 ตัวอย่าง สารคดีการกำจัดมูลฝอยอย่างเป็นระบบ


ตัวอย่าง  สารคดี การแยกขยะ


ตัวอย่างสาคดีเกี่ยวกับขยะ



 ★★★การทำสารคดีขึ้นเพื่อรณรงค์ให้คนในชุมชน ในประเทศ ทิ้งขยะกันอย่างถูกวิธี และการทำเป็นสารคดีควรมีความคิดสร้างสรรค์และน่าสนใจ เพื่อให้ผู้ชมติดตามตั้งแต่ต้นจนจบวิดีโอ   ★★★ 

วิธีลดปริมาณขยะ

5 R ลดปริมาณขยะ
R : Reduce 
คือ การลดการใช้ การบริโภคทรัพยากรที่ไม่จำเป็นลงลองมาสำรวจกันว่าเราจะลดการบริโภคที่ไม่จำเป็นตรงไหนได้บ้างโดยเฉพาะการลดการบริโภคทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไป เช่น น้ำมันก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน และแร่ธาตุ ต่าง ๆ การลดการใช้นี้ทำได้ง่ายๆ โดยการเลือกใช้เท่าที่จำเป็น เช่น ปิดไฟทุกครั้งที่ไม่ใช้งานหรือเปิดเฉพาะจุดที่ใช้งานปิดคอมพิวเตอร์และเครื่องปรับอากาศเมื่อไม่ใช้เป็นเวลานาน ๆ ถอดปลั๊กของเครื่องใช้ไฟฟ้าเช่น กระติกน้ำร้อนออกเมื่อไม่ได้ใช้ เมื่อต้องการเดินทางใกล้ ๆ ก็ควรใช้วิธีเดิน ขี่จักรยานหรือนั่งรถโดยสารแทนการขับรถไปเอง เป็นต้น เพียง-เท่านี้เราก็สามารถเก็บทรัพยากรด้านพลังงานไว้ใช้ได้นานขึ้น ประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอีกด้วย
R : Reuse 
คือ การใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุด โดยการนำสิ่งของเครื่องใช้ มาใช้ซ้ำ ซึ่งบางอย่างอาจใช้ซ้ำได้หลาย ๆ ครั้ง เช่น การนำชุดทำงานเก่าที่ยังอยู่ในสภาพดีมาใส่เล่นหรือใส่นอนอยู่บ้านหรือนำไปบริจาค แทนที่จะทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์ การนำกระดาษรายงานที่เขียนแล้ว 1 หน้า มาใช้ในหน้าที่เหลือหรืออาจนำมาทำเป็นกระดาษโน๊ต ช่วยลดปริมาณการตัดต้นไม้ได้เป็นจำนวนมาก การนำขวดแก้วมาใส่น้ำรับประทานหรือนำมาประดิษฐ์เป็นเครื่องใช้ต่างๆ เช่นแจกันดอกไม้หรือที่ใส่ดินสอ เป็นต้น นอกจากจะช่วยลดค่าใช้จ่ายลดการใช้พลังงานพลังงานแล้ว ยังช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมและยังได้ของน่ารักๆ จากการประดิษฐ์ไว้ใช้งานอีกด้วย
R : Recycle 
คือ การนำหรือเลือกใช้ทรัพยากรที่สามารถนำกลับมารีไซเคิล หรือนำกลับมาใช้ใหม่เป็นการลดการใช้ทรัพยากรในธรรมชาติจำพวกต้นไม้ แร่ธาตุต่าง ๆ เช่น ทราย เหล็ก อลูมิเนียมซึ่งทรัพยากรเหล่านี้ สามารถนำมารีไซเคิลได้ยกตัวอย่างเช่น เศษกระดาษสามารถนำไปรีไซเคิลกลับมาใช้เป็นกล่องหรือถุงกระดาษ การนำแก้วหรือพลาสติกมาหลอมใช้ใหม่เป็นขวด ภาชนะใส่ของหรือเครื่องใช้อื่นๆ ฝากระป๋องน้ำอัดลมก็สามารถนำมาหลอมใช้ใหม่หรือ
R : Repair 
คือ การรู้จักซ่อมแซมฟื้นฟูสิ่งของเครื่องใช้ที่สึกหรอ ให้สามารถใช้ประโยชน์ได้
R : Reject

คือ รู้จักปฏิเสธ หรืองดการใช้สิ่งของที่เห็นว่า เป็นการทำลาย ทรัพยากรและสร้างมลพิษ ให้เกิดขึ้นแก่ สิ่งแวดล้อม


ที่มา  : http://sirirat9876.blogspot.com/p/5-r.html

โปรแกรมตัดต่อวิดีโอ(2)

โปรแกรมตัดต่อวิดีโอ 8 อันดับ โปรแกรมทําวีดีโอ ดีทีสุด
1. Windows Movie Maker
     Windows Movie Maker เป็นโปรแกรมทำวีดีโอที่ง่ายมาก แค่เพียงลากวางวีดีโอลงในโปรแกรมหลังจากนั้นก็ทำการตัดต่อตามต้องการ ความสามารถอีกอย่างหนึ่งของโปรแกรมนี้คือใช้โปรแกรม Windows Movie Maker สร้างสไลด์โชว์ เอาเพลงมาประกอบ
สำหรับโปรแกรม Windows Live Movie Maker เป็นโปรแกรมฟรี (FREE) ที่ถูกสร้างขึ้นโดย Windows 

2. Lightworks
      Lightworks เป็นอีกหนึ่งโปรแกรมตัดต่อวีดีโอที่ดี มีการสนับสนุการทำงานที่ มี effects และ smart trimming tools โปรแกรมนี้เป็นที่นิยมมากให้การตัดต่อหนังเลยที่เดียว

3. Kate’s Video Toolkit
      Kate’s Video Toolkit เป็นโปรแกรมตัดต่อวิดีโอ ที่มีความสามารถหลายหลาย ไม่ว่าจะเป็นตัดไฟล์ ประกอบ 2 ไฟล์วีดีโอต่อกัน มีลูกเล่นเปลี่ยนฉากเวลาเริ่มวีดีโอใหม่ กำหนดลำดับของวีดีโอกับเสียง

4. Avidemux
     Avidemux เป็นโปรแกรมตัดต่อวีดีโอขนานเล็ก และเป็นโปรแกรม open source โดยโปรแกรมนี้มีสามารถตัด หมุน ปรับขนาด ลบเสียงรบกวน ปรับสี และอื่นๆ

5. VSDC Free Video Editor
      VSDC Free Video Editor โปรแกรมตัดต่อวีดีโอนี้ต้องใช้เวลาศึกษาอ่านคู่มือหน่อย เป็นขั้นตอนการทำงานอาจเข้าใจอยาก แต่โปรแกรมนี้ก็มีจุดเด่อ คือ มีตัวช่วย filters, เอฟเฟคเปลี่ยนฉาก (transitions),เสียงเอฟเฟค (audio effects) เป็นต้น

6. MPEG Streamclip
       MPEG Streamclip โปรแกรมนี้สามารถเปิดไฟล์ DVD หรือเปิด URLs ของ video streams ได้ ความสามารถของโปรแกรมตัดต่อวีดีโอนี้ เช่น การทริม (trim) การ cut การ copy or paste และ export the soundtrack เป็นต้น

7. VirtualDub
      VirtualDub โปรแกรมตัดต่อวีดีโอนี้สามารถทำงานได้กับไฟล์ AVI ด้วยอินเตอร์เฟซที่เรียบงายและชัดเจน จะช่วยให้เลื่อนและตัดคลิปได้อย่างง่ายได้ ความสามารถของโปรแกรมก็มี ปรับคมชัด, เบลอ, ปรับขนาด, หมุนความสว่างสีและความคมชัดปรับแต่ง และมีปลั๊กตัวเลือกเพิ่มให้ได้ใช้อีกด้วย

8. Free Video Dub
       Free Video Dub ก็เป็นโปรแกรมตัดต่อวีดีโอ มีลูกเล่นคล้ายกับโปรแกรมที่ผ่านมา อย่างไงทดลองโหลดมาทดสอบดู เป็นโปรแกรมตามความชอบส่วนบุคล

ที่มา : http://www.ineedtoknow.org/

โปรแกรมตัดต่อวีดีโอ

โปรแกรมที่ใช้ในการพัฒนาสื่อสร้างสรรค์ 
       ในการสร้างงานสื่อสร้างสรรค์ประเภทของคลิปวีดีโอนั้น สามารถใช้โปรแกรมในการทำงานได้หลากหลาย แบ่งเป็นหลายระดับ คือ
 1
ระดับพื้นฐาน หมายถึงระดับที่สามารถมาทำวีดีโออย่างง่าย เช่น สไลด์โชว์ นำภาพมาทำให้มันน่าสนใจขึ้น ใส่ Effect และ Transition เข้าไปให้มันน่าสนใจขึ้น หรือการ Encode แปลงไปวีดีโอประเภทต่าง ๆ เช่น Movie Maker Cinema Craft Mpeg Encoder Cool DVD Multi Channel Cyberlink Media Show Cyberlink Stream Author Ulead Media Studio Photoshow เป็นต้น
2
ระดับกลาง หลักการทำงานจะซับซ้อนกว่าระดับพื้นฐานข้างบนมาหน่อยหนึ่ง
แต่ก็ไม่ยากจนเกินไป เช่น Pinnacle Ulead ProShow Gold Power Director เป็นต้น
3
ระดับมืออาชีพ หรือ Studio โปรแกรมต่อไปนี้เป็นโปรแกรมที่ใช้งานยากกว่า 2 ระดับที่กล่าวมาแล้ว งานจะออกมาดีต้องใช้การ Creative สูงมาก ๆ ครับ กว่าจะใช้ให้ชำนาญได้ต้องใช้เวลาในการฝึกฝนเป็นเวลานาพอสมควร อาจจะเป็นปี ๆ อีกอย่าง การที่จะตัดต่องานได้ไม่สะดุดเราต้องอาศัยทรัพยากรของเครื่องคอมพิวเตอร์และการ์ดตัดต่อ ซึ่งแต่ละอย่างก็ซื้อในราคาที่แพงแสนแพง ยิ่งต้องตัดต่องาน High Definition Video ด้วยแล้ว จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีคอมพิวเตอร์สเป็คสูง ๆ และการ์ดตัดต่อราคาแพง ๆ โปรแกรมที่ว่านี้ เช่น
1) Adobe Premiere (
สำหรับ Studio ทั่วไป จะนิยมใช้ตัวนี้)
2) Sony Vegas (
สำหรับตัวนี้น้องใหม่มาแรงในตอนนี้ ใช้งานง่าย อาจจะง่ายกว่าโปรแกรมอื่น ๆ ในระดับเดียวกัน)
3) AfterEffect (
ใช้ทำ Effect ตามชื่อของมัน)
4) Combustion (
ตัวนี้ก็สุดยอดการตัดต่ออีกตัวหนึ่ง ตัดต่อและใส่ Effect ระดับหนัง Hollywood สามารถวางองค์ประกอบวิดีโอสไตล์ 2 มิติ และ 3 มิติ ได้)
5) Avid (
ตัวนี้สำหรับ Broadcast ตัดต่อหนังและวีดีโอ รายการข่าวระดับมือโปร
(Film and Video Production)
ตัวนี้ทำงานกับ คอมพิวเตอร์ PC บนระบบปฏิบัติการ Windows
6) Final Cut
ตัวนี้ก็สำหรับตัดต่อหนังเหมือนกัน ทำงานบนระบบปฏิบัติการ Mac

ที่มา  :  http://www.krusamorn.com/


การวัดแสงของกล้อง

     โหมดการวัดแสงเป็นคุณสมบัติสำหรับการวัดความสว่างของตัวแบบ โหมดการวัดแสงแต่ละโหมดมีช่วงการวัดแสงที่ต่างกัน ดังนั้น แม้ว่าคุณจะใช้ถ่ายภาพเดียวกัน ปริมาณแสงก็อาจเปลี่ยนไปและให้ความสว่างของภาพที่ออกมาต่างกัน ในบทความนี้ เราจะมาทำความรู้จักคุณลักษณะของโหมดการวัดแสงแต่ละโหมดมากขึ้นเพื่อให้ได้ไอเดียว่าจะทำอย่างไรให้ได้ปริมาณแสงที่เหมาะสมในการถ่ายภาพ 
 
แต่ละโหมดมีช่วงการวัดแสงที่ต่างกัน
         ในแต่ละโหมดการวัดแสงจะมีช่วงการวัดแสงและความเหมาะสมในการใช้งานกับประเภทภาพที่เจาะจง โหมดการวัดแสงแบบประเมินทั้งภาพซึ่งเป็นค่าเริ่มต้น สามารถใช้ได้ในภาพแทบทุกประเภท ในโหมดนี้ กล้องจะให้ความสำคัญกับตัวแบบที่โฟกัสและพิจารณาความสมดุลโดยรวมของภาพตามตำแหน่งของจุด AF ที่ใช้งาน กล้องจะคำนวณโดยใช้อัลกอริทึ่มขั้นสูงเพื่อแปลงค่าการวัดแสงให้เป็นค่าปริมาณแสงที่เหมาะสม
โหมดการวัดแสงแบบจุดมีระยะการวัดแสงที่แคบที่สุด ในโหมดนี้ กล้องจะตอบสนองกับความสว่างของพื้นที่เล็กๆ ตรงจุดกึ่งกลางเท่านั้น โดยปกติ โหมดการวัดแสงประเมินทั้งภาพสามารถใช้ได้กับภาพเกือบทุกประเภท และเป็นโหมดที่ใช้งานง่ายที่สุดเมื่อคุณถ่ายภาพทิวทัศน์ อย่างไรก็ตาม เมื่อคุณต้องการวัดแสงเฉพาะบางพื้นที่ เช่น ในภาพที่มีแสงย้อน หรือภาพที่ทั้งแสงและส่วนเงาซ้อนทับกันจนซับซ้อนในฉากที่คุณต้องการถ่าย โหมดการวัดแสงแบบจุดเป็นประโยชน์ในสถานการณ์เช่นนี้

ขึ้นอยู่กับตัวคุณเองในฐานะช่างภาพว่าจะตัดสินใจใช้โหมดการวัดแสงแบบไหน โหมดที่ควรเลือกมากที่สุดคือโหมดที่ทำให้ภาพของคุณมีความสว่างหรือปริมาณแสงตรงตามที่คุณตั้งใจไว้ คุณอาจดูคำอธิบายต่อไปนี้ซึ่งจะช่วยคุณเลือกโหมดการวัดแสงได้ง่ายยิ่งขึ้น
  
วัดแสงประเมินทั้งภาพ
นี่เป็นค่าเริ่มต้นในโหมดการวัดแสงที่สามารถใช้ได้กับภาพหลายประเภทตั้งแต่ภาพทิวทัศน์ไปจนถึงภาพสแนปช็อต การวัดแสงรอบๆ จุด AF ในโหมดนี้จะให้ความสมดุลของแสงสว่างทั่วทั้งภาพ




    วัดแสงบางส่วน
โหมดนี้จะวัดความสว่างของพื้นที่สีเทา คือจะทำการวัดแสงในพื้นที่เล็กและส่วนรอบๆ สามารถใช้เมื่อถ่ายภาพพอร์ตเทรตโคลสอัพได้ด้วย





วัดแสงเฉลี่ยหนักกลางภาพ
ในโหมดนี้แม้จะมีรูปแบบการวัดแสงคล้ายกับการวัดแสงบางส่วน แต่กล้องจะตอบสนองต่อแสงแวดล้อมด้วย ให้การวัดแสงที่มีความสมดุลทั่วทั้งภาพโดยเน้นปริมาณแสงที่กึ่งกลางภาพ





วัดแสงแบบจุด
วัดเฉพาะความสว่างของวงกลมสีเทาเล็กๆ ในภาพ โหมดนี้เป็นประโยชน์เมื่อคุณต้องการวัดเฉพาะความสว่างของใบหน้าตัวแบบ เช่น เมื่อมีแสงจ้าด้านหลังภาพ




      โหมดการวัดแสงประเมินทั้งภาพมอบการวัดแสงที่มีความสมดุลทั่วทั้งภาพ ซึ่งจะวัดแสงในโซนต่างๆ รอบจุด AF อย่างไรก็ตาม ตามที่เห็นในภาพด้านบน วิธีนี้ทำให้ตัวแบบพอร์ตเทรตมืดเมื่อสภาพแวดล้อมที่ถ่ายมีแสงย้อน ในกรณีนี้ การใช้โหมดที่มีระยะการวัดแสงที่แคบกว่าซึ่งวัดเฉพาะความสว่างของตัวแบบจะทำให้ได้รับปริมาณแสงที่เหมาะสมง่ายขึ้น

 ที่มา : https://snapshot.canon-asia.com/

เทคนิคการถ่ายภาพวิดีโอ


มุมกล้อง
    การถ่ายภาพในมุมที่ต่างกัน ยังมีผลต่อความคิดความรู้สึกที่จะสื่อความหมายไปยังผู้ดูได้ เราอาจแบ่งมุมกล้องได้เป็น 3 ระดับ คือ
1.ภาพระดับสายตา คือ การถ่ายภาพในตำแหน่งที่อยู่ในระดับสายตาปรกติที่เรามองเห็น ขนานกับพื้นดิน ภาพที่จะได้จะให้ความรู้สึกเป็นปรกติธรรมดา
2.ภาพมุมต่ำการถ่ายภาพในมุมต่ำ คือ การถ่ายในต่ำแหน่งที่ต่ำกว่าวัตถุ จะให้ความรู้สึกถึงความสูงใหญ่ ยิ่งใหญ่กว่าความเป็นจริง แสดงถึงความสง่า
3.การถ่ายภาพมุมสูง คือ การตั้งกล้องถ่ายในต่ำแหน่งที่สูงกว่าวัตถุ ภาพที่ได้จะให้ความรู้สึกถึงความเล็กความต้อยต่ำ ไม่มีความสำคัญ
เทคนิคการซูมและการโพกัส
1.ในขณะที่ซูมไม่ควรเดินหรือเคลื่อนไหว เพราะจะทำให้วีดีโอที่ได้มีโอกาสสั่นไหวสูง
2.
หากต้องการเคลื่อนที่ด้วยขณะซูม ขอแนะนำให้ดึงซูมออกมาให้สุดก่อน แล้วค่อยกดปุ่มบันทึก จากนั้นให้เดินเข้าไปแทนการซูมเลนส์
3.
อย่าสนุกกับการซูมจนมากเกินไป เพราะส่วนใหญ่ผู้ที่เพิ่มเริ่มเล่นกล้องมักจะชอบดึงซูมเข้า/ออก ทำให้ภาพที่ได้น่ามึนหัว เหมือนกำลังกระแทรกกำแพงโป๊กๆที่จริงแล้วการซูมจะทำเมื่อต้องการดูราย ละเอียดของเหตุการณ์ เพื่อบ่งบอกเรื่องราว หรือซูมออกเพื่อแสดงภาพรวมของเหตุการณ์นั้นๆ พูดง่ายๆ จะซูมก็ควรมีเหตุมีผลมีเรื่องราวที่จะเล่าจากการซูมจริงๆ
4.
ควรหยุดซูมเสียก่อนค่อยเคลื่อนไหวกล้อง หรือซูมก่อนบันทึกภาพ จุดนี้จะช่วยให้วีดีโอที่ได้น่าสนใจมากขึ้น เช่น การถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ในท้องทะเล อาจจะตั้งกล้องซูมเข้าไปที่เรือจากนั้นกดปุ่มบันทึก แล้วค่อยๆซูมออกมาให้เห็นท้องทะเล
การแพนกล้อง
    การแพนกล้องที่ดีต้องมีจังหวะที่จะแพน คือต้องมีจุดเริ่มและจุดสิ้นสุดของการแพน จุดนี้เองคนที่อยู่เบื้องหลังคอยตัดต่อภาพทั้งหลายมันเป็นเรื่องยุ่งยากที่ จะตัดต่อภาพ โดยมีภาพทีแกว่งไปแกว่งมา หรือวูบวามไปมา เมื่อนำมาร้อยใส่ภาพนิ่งๆจะรู้สึกได้เลยว่าไม่เข้ากัน พลอยทำให้ดูไม่รู้เรื่องเข้าไปใหญ่ ไม่นิ่มนวลสมจริง บางครั้งรู้สึกว่าโดดไปโดดมา หากจะให้ตัดต่อได้สะดวกและภาพสมบูรณ์ การแพนจะต้องมีจุดเริ่ม คือเริ่มจากถือกล้องให้นิ่งเสียก่อน จากนั้นกดปุ่มบันทึกภาพแล้วค่อยแพน และจุดจบ คือนิ่งทิ้งท้ายตอนจบอีกเล็กน้อย เพื่อบอกคนดูให้เตรียมพร้อมและพักสายตาระหว่างชมภาพ
การบันทึกเป็นช็อต
ช็อตคือการเริ่มบันทึก เพื่อเริ่มเทปเดินและเริ่มบันทึกลงม้วนเทป จนกระทั่งกดปุ่ม Rec อีกครั้ง เพื่อเลิกการบันทึก แบบนี้เค้าเรียกว่า 1 ช็อต การถ่ายเป็นช็อคไม่ควรปล่อยให้ช็อตไม่ควรปล่อยให้ช็อตนั้นยืดยาวไปนัก คือไม่ควรเกิน 5 วินาทีต่อ 1 ช็อต
วิธีการบันทึกเป็นช็อต
การ ถ่ายเป็นช็อตนี้ จะต้องเลือกมุม เลือกระยะที่จะถ่ายก่อน เลือกว่าจะถ่ายแบบไหนที่จะได้องค์ประกอบครบถ้วน ยกกล้องขึ้นส่อง จัดองค์ประกอบ แล้วถือให้นิ่ง กดบันทึก นับ 1-2-3-4-5 แล้วกดหยุด ในระหว่างกดบันทึกห้ามสั่น ห้ามไหวเด็ดขาด วิธีการไม่ยากนัก โดยให้รอจังหวะ หลักการง่ายๆคือนิ่งๆเข้าไว้ และไม่จำเป็นต้องถ่ายทั้งหมดหรือถ่ายยืดยาว เลือกแค่เป็นช็อตสำคัญก็พอ
ข้อดีของการบันทึกเป็นช็อต
ช็อตมุมกว้าง คือ บอกให้รู้สถานที่ และให้ได้รู้ว่าเป็นงานอะไร สถานที่ที่ไหน หากว่าถ่ายเห็นป้ายของงงานเข้าไปด้วยยิ่งดี การถ่ายแบบนี้ดูเป็นเรื่องเป็นราว บอกเล่าเรื่องราวตามลำดับขั้น ว่ามีใครทำอะไรบ้างไม่ว่าจะเป็นงานพิธีหรือถ่ายกันเล่นๆ เพราะว่าภาพจะสลับมุมต่างๆมาให้ชมเป็นระยะทำให้ไม่น่าเบื่อ
ช็อตการแพน การ ยกกล้องขึ้นลงการซูม การเล่นมุมกล้องแบบต่างๆ หรือเล่นมุมกล้องเอียงก็ทำได้เช่นกัน แต่ว่าต้องเริ่มต้นด้วยหลักการถ่ายเป็นช็อตๆให้กระชับและไม่ยืดยาดจะทำให้คนดูไม่เบื่อ ที่มีแต่ภาพแข็งๆทื่อๆดูแล้วไม่มีชีวิตชีวา

ที่มา : https://krubeenan.wordpress.com/