วันศุกร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ชนิดของข้อมูลและตัวแปรในภาษาซี

ชนิดของข้อมูล (data type) ในการเขียนโปรแกรมหนึ่งๆ จะมีข้อมูลต่างๆ เข้ามาเกี่ยวข้องเช่น
การนับจำนวนรอบ (loop) ของการทำงานโดยใช้ข้อมูลชนิดจำนวนเต็ม หรือการแสดงข้อความ
โดยใช้ข้อมูลชนิดตัวอักษร จะเห็นว่าข้อมูลต่างๆ ถูกแบ่งออกเป็นหลายชนิดตามจุดประสงค์ของการใช้งาน
นอกจากนี้ข้อมูลแต่ละชนิด ยังใช้เนื้อที่หน่วยความจำ (memory) ไม่เท่ากันจึงมีการแบ่งชนิดของข้อมูล
ดังแสดงในตารางด้านล่าง

ตัวแปร (variable) เนื่องจากข้อมูลถูกเก็บอยู่ในหน่วยความจำ การอ้างถึงตำแหน่งของข้อมูลนี้
จึงมีความซับซ้อน ไม่สะดวกต่อการเขียนโปรแกรม จึงมีการเรียกหน่วยความจำ ในตำแหน่งที่สนใจผ่านตัวแปร

การประกาศตัวแปร (variable declaration) คือการจองเนื้อที่ในหน่วยความจำสำหรับเก็บค่าบางอย่าง
พร้อมทั้งกำหนดชื่อเรียกแทนหน่วยความจำในตำแหน่งนั้นเพื่อให้ผู้เขียนโปรแกรมมีความสะดวกในการเข้าถึง
ค่าที่เก็บอยู่ในหน่วยความจำดังกล่าว

รูปแบบการประกาศตัวแปร

type variable-name;
โดย
type คือชนิดของตัวแปร (ตามตารางด้านล่าง)
variable-name
คือชื่อของตัวแปร (ควรตั้งชื่อให้มีความหมายสอดคล้องกับการใช้งานและจำง่าย)

ตัวอย่างการประกาศตัวแปรแบบต่างๆ
int num; /*ประกาศตัวแปรชนิิดจำนวนเต็ม ชื่อ num*/
float x;
char grade, sex; /*
ประกาศตัวแปรชนิิดอักขระ ชื่อ grade และ sex (ประกาศพร้อมกันในบรรทัดเดียว)*/
float temp = 123.45; /*ประกาศตัวแปรชนิดเลขทศนิยมพร้อมกำหนดค่า 123.45*/
char c = "A", t = "B"; /*
ประกาศตัวแปรชนิดอักขระสองตัว พร้อมกำหนดค่าให้แต่ละตัว*/
int oct = 0555; /*
ประกาศตัวแปรชนิดจำนวนเต็มชื่อ num พร้อมกำหนดค่าคือ 555 (เป็นเลขฐานแปดเพราะมี 0 นำหน้า)*/
int hex = 0x88; /*
ประกาศตัวแปรชนิดจำนวนเต็มชื่อ hex พร้อมกำหนดค่าคือ 88 (เป็นเลขฐาน 16 เพราะมี 0x นำหน้า)*/
ข้อควรระวัง!!
ชื่อตัวแปรจะต้องขึ้นต้นด้วยตัวอักษรหรือเครื่องหมาย "_" เท่านั้น
ภายในชื่อตัวแปรให้ใช้ตัวอักษร, ตัวเลข 0-9 หรือเครื่องหมาย "_"
ห้ามมีช่องว่างในชื่อตัวแปร
อักษรตัวพิมพ์เล็ก-ใหญ่ มีความแตกต่างกัน (case sensitive) เช่น Name, NAME และ name
ถือเป็นชื่อที่แตกต่างกัน
ห้ามซ้ำกับชื่อตัวแปรสงวน (reserved word)
ตัวแปรชนิดข้อความ (string)
ถ้าเราต้องการเก็บข้อความ "C programming language" ไว้ในตัวแปร จะทำได้อย่างไร?

ที่ผ่านมาเราทราบว่าเราสามารถเก็บข้อมูลชนิดตัวอักขระไว้ในตัวแปรชนิด char ได้ แต่ตัวแปรชนิด char นั้น
สามารถเก็บตัวอักขระได้เพียงตัวเดียวเท่านั้น ไม่สามารถเก็บทั้งข้อความได้ แล้วเราจะแก้ปัญหาได้อย่างไร?

หากพิจาณาให้ดี ข้อความดังกล่าวประกอบด้วยตัวอักขระ (ตัวอักษร+สัญลักษณ์) หลายๆ ตัวเรียงต่อกันเป็นสาย
ซึ่งเป็นลักษณะของตัวแปรแบบ array (จะได้กล่าวภายหลัง)

การประกาศตัวแปรแบบ array เพื่อเก็บข้อมูลดังกล่าวสามารถทำได้ดังนี้
type variable-name[size];
โดย
size คือขนาดของข้อความ+1 โดยขนาดที่เพิ่มขึ้นเพราะต้องเก็บอักขระสุดท้ายของข้อความเป็นอักขระ
\0
หรือ NULL เพื่อบอกว่าสิ้นสุดข้อความแล้ว
ตัวอย่างการประกาศตัวแปรแบบ array เพื่อเก็บข้อความ "C programming language" (22 ตัวอักษร)
ทำได้หลายวิธีดังนี้
char[23] text = "C programming language";
/*
กำหนดขนาดเพิ่มขึ้น 1 ตัว สำหรับเก็บค่า \0 หรือ NULL ในตำแหน่งสุดท้าย*/

char[23] text = {'C',' ','p','r','o','g','r','a','m','m','i','n','g',' ','l','a','n','g','u','a','g','e','\0'};
/*
กำหนดขนาดเพิ่มขึ้น 1 ตัว สำหรับเก็บค่า \0 หรือ NULL ในตำแหน่งสุดท้าย*/

char[] text = "C programming language";
/*
ถ้าไม่กำหนดขนาดของ array แล้ว ตัวแปรภาษาซีจะกำหนดให้โดยมีขนาดเท่ากับขนาดข้อความ+1*/
นอกจากนี้เรายังสามารถแก้ไขตัวอักษรที่เก็บอยู่ใน array ได้โดยการอ้างอิงตำแหน่งเช่น
text[0] = 'A'; /*แก้ตัวอักษรตัวแรก (เริ่มนับจาก 0) จะได้ผลลัพธ์คือ A programming language*/

text[2] = ' '; /*ผลลัพธ์คือ A  rogramming language (ใส่ช่องว่างแทนตัว p)*/
ชนิดของตัวแปรในภาษาซี















ฟังก์ชันในภาษาซี



การเขียนโปรแกรมภาษาในภาษาซี
การเขียนโปรแกรมในภาษาซีนั้นสามารถเขียนได้ 2 แบบ

แบบที่ 1 เขียนแบบโครงสร้าง
                
หรือเป็นบรรทัดไปเรื่อย ๆ หรือทั้งโปรแกรมมีเพียงหนึ่งฟังก์ชันคือ ฟังชันก์ main( ) การเขียนแบบนี้มีข้อดีคือ  เหมาะสำหรับโปรแกรมสั้น ๆ แต่เมื่อนำไปใช้กับโปรแกรมที่มีขนาดยาวถ้าในโปรแกรมมีชุดคำสั่งที่ซ้ำกัน และการตรวจสอบหาข้อผิดพลาดนั้นทำได้ยาก  เพราะจะต้องรันทั้งโปรแกรม

แบบที่ 2 เขียนแบบฟังก์ชัน
เป็นการเขียนโปรแกรมโดยแบ่งการทำงานของโปรแกรมออกเป็นฟังก์ชันย่อย   แต่ยังต้องมีฟังก์ชัน main( ) อยู่เหมือนเดิม  แต่ฟังก์ชัน main( ) นี้จะไปเรียกฟังก์ชันอื่นขึ้นมาทำงานต่อไป   การเขียนแบบนี้มีข้อดีคือ การทำงานของโปรแกรมนั้นตรวจสอบได้ง่าย  เพราะสามารถรันเฉพาะฟังก์ชันได้   และทำให้ตัวโปรแกรมนั้นสั้นลงในกรณีที่ชุดคำสั่งที่เหมือนกัน   ซึ่งโปรแกรมเมอร์เกือบทั้งหมดนิยมเขียนในลักษณะนี้

การเขียนโปรแกรมแบบฟังก์ชัน
การเขียนโปรแกรมแบบฟังก์ชันมีขั้นตอนดังนี้
1.
ประกาศฟังก์ชันที่ต้องการไว้ในส่วนแรกของโปรแกรม
2.
เรียกใช้ฟังก์ชันที่ประกาศไว้
3.
กำหนดหรือสร้างรายละเอียดของฟังก์ชันนั้น


ผังงานFlowchart

ผังงาน (Flowchart) คือ รูปภาพ (Image) หรือสัญลักษณ์(Symbol) ที่ใช้เขียนแทนขั้นตอน คำอธิบาย ข้อความ หรือคำพูด ที่ใช้ในอัลกอริทึม (Algorithm) เพราะการนำเสนอขั้นตอนของงานให้เข้าใจตรงกัน ระหว่างผู้เกี่ยวข้อง ด้วยคำพูด หรือข้อความทำได้ยากกว่า
ผังงานแบ่งได้ 2 ประเภท
1.
ผังงานระบบ (System Flowchart)
คือ ผังงานที่แสดงขั้นตอนการทำงานในระบบอย่างกว้าง ๆ แต่ไม่เจาะลงในระบบงานย่อย
2.
ผังงานโปรแกรม (Program Flowchart)
คือ ผังงานที่แสดงถึงขั้นตอนในการทำงานของโปรแกรม ตั้งแต่รับข้อมูล คำนวณ จนถึงแสดงผลลัพธ์
 

ซอฟแวร์ที่ใช้ในการออกแบบ (3 มิติ)

ซอฟแวร์ที่ใช้ในการออกแบบ 3 มิติ
Sweet home 3D เป็นโปรแกรมการออกแบบบ้าน ทั้งภายในและภายนอก ใช้งานได้ง่ายและเป็นที่นิยิม โปรแกรมนี้เค้าจะมีเฟอร์นิเจอร์มาให้เราเลือกใช้พอสมควร 
Blender เป็นโปรแกรมสร้างสรรค์ภาพยนต์สามมิติได้แบบฟรีๆ โปรแกรมนี้มีลักษณะการทำงานคล้ายกับโปรแกรมอย่าง 3D Studio Max หรือ Maya แต่ต่างกันตรงที่โปรแกรมนี้เป็นฟรีแวร์ สามารถนำมาใช้งานได้ฟรีทั้งด้านการศึกษาหรือในเชิงธุรกิจ ทำให้ปัจจุบันได้มีโรงเรียนสอนคอมพิวเตอร์หลายแห่งหันมาเปิดคอร์สสอนโปรแกรมนี้กันหลายเจ้าเหมือนกัน ความสามารถของโปรแกรมก็ค่อนข้างใกล้เคียงกับโปรแกรมเสียเงิน โดยโปรแกรมสามารถใช้ในการขึ้นรูปโมเดลสามมิติได้สามารถใส่วัสดุพื้นผิวของโมเดลได้สมจริงสามารถจัดแสงจัดฉากสำหรับถ่ายภาพนิ่ง,สามารถกำหนดการเคลื่อนไหวเพื่อทำภาพอนิเมชั่นสามารถตั้งค่าการเคลื่อนไหวของมุมกล้อง เป็นต้น ซึ่งก็เรียกได้ว่าพร้อมสรรพสำหรับใช้สร้างการ์ตูนอนิเมชั่นดีๆ ได้เลย


SketchUp Make เป็นโปรแกรมสำหรับออกแบบงาน 3มิติที่เหมาะกับผู้ใช้งานทั่วไป โปรแกรมนี้เรียกได้ว่าเป็นที่นิยมสำหรับบุคคลทั่วไปเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะผู้ที่กำลังต้องการออกแบบบ้านด้วยตัวเอง เนื่องจากโปรแกรมมีการใช้งานที่ง่ายมากๆ ผู้ใช้ทั่วไปสามารถทำความเข้าใจกับโปรแกรมด้วยการดูวีดีโอสาธิตการใช้งานสั้นๆ ภายในไม่ถึง 10 นาที ก็จะสามารถเริ่มต้นออกแบบชิ้นงาน 3 มิติได้ทันที โปรแกรมมีหลักการง่ายๆ โดยผู้ใช้สามารถใช้เครื่องมือวาดร่างภาพ 2 มิติก่อน จากนั้นก็จะมีเครื่องมือในการขึ้นรูปโดยการยืดเพื่อขึ้นรูป 3 มิติ หลังจากนั้นเราก็สามารถใช้วิธีการเดียวกันในการตัดต่อโมเดลให้ซับซ้อนตามความต้องการ โปรแกรมนี้จึงมักเป็นที่นิยมในการออกแบบบ้าน,ออกแบบสินค้าออกแบบชิ้นส่วนเครื่องกลแบบคร่าวๆ เป็นต้น

ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการออกแบบ(2มิติ)

ซอฟแวร์ที่ใช้ในการออกแบบ 2 มิติ
โปรแกรมสำหรับกราฟฟิกถือเป็นโปรแกรมที่สำคัญมากของผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับ ภาพถ่าย นักออกแบบ นักดีไซน์ นักทำโฆษณา สถาปนิก และอาชีพอื่นๆ เพราะการจะสร้างชิ้นงานหนึ่งชิ้นให้มีความสวยงาม เหมือนจริง น่าสนใจ ดึงดูดลูกค้า จำต้องมีการออกแบบ การคิด การวิเคราะห์ที่ดี และอีกอย่างคือเครื่องมือที่ใช้ นั้นก็คือโปรแกรมกราฟฟิกต่างๆ ในบทความนี้เราจะไปดูว่า โปรแกรมกราฟฟิกมีโปรแกรมอะไรบ้าง และนิยมนำไปใช้ในงานประเภทใด เริ่มกันเลยที่

1.โปรแกรม Adobe Photoshop
     
สำหรับโปรแกรมนี้ในปัจจุบันถือเป็นหนึ่งในโปรแกรมคลาสิกที่่เกือบทุกเครื่อง จำเป็นต้องติดตั้งไว้ เพราะ Photoshop เป็นโปรแกรมในการออกแบบ การแต่งภาพ การใส่เอ็ฟเฟ็กยอดนิยม ด้วยความที่ใช้งานง่ายและมีเครื่องมีในการใช้งานมากมาย สามารถผลิกแผลงได้สารพัดประโยชน์ โดยส่วนใหญ่จะใช้ในการตัดต่อภาพ การแต่งภาพให้สวยขึ้น คมชัดขึ้น ขาวขึ้น  ในปัจจุบันโปรแรกมAdobe Photoshop มีออกมาหลายเวอร์ชัน และยังคงพัฒนาต่อไปอย่างต่อเนื่อง

2.โปรแกรม Adobe Illustrator
      
โปรแกรมออกแบบโลโก้ ออกแบบภาพ เสริม เติม แต่งภาพ ระดับมืออาชีพ มีฟังก์ชันคล้ายกับPhotoshop แต่มีการทำงานที่เหนือชั้นกว่าในการออกแบบ โปรแกรมนี้อาจต้องลองศึกษาเพิ่มเติม แต่รับประกันว่าเป็นโปรแกรมที่ออกแบบภาพได้ดีเยี่ยมโปรแกรมหนึ่ง

3.โปรแกรม Adobe InDesign
     
โปรแกรมนี้ผมนิยมใช้ในการออกแบบวารสาร นิตยสาร หน้าสืออิเล็กทรอนิกส์ อยู่ในตระกลู Adobe เหมือนกัน

4.โปรแกรม PhotoScape Setup
     
โปรแกรมตัดต่อภาพ เปลี่ยนแปลงภาพ เพิ่มแสงเงา ใส่กรอบ เพิ่มข้อความ สัญลักษณ์ ลดขนาดไฟล์ภาพ ออกแบบโลโก้อย่างง่าย เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในโปรแกรมที่นิยมใช้งาน เพราะใช้ง่าย ไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานหรือศึกษาโปรแกรม ด้วยโปรแกรมไม่ได้ซับซ้อนเหมือนกับโปรแกรมออกแบบอื่นๆ ติดตั้งแล้วลองใช้งานได้เลย

เทคโนโลยีสะอาด


เทคโนโลยีสะอาด (Clean Technology)

เทคโนโลยีสะอาด (Clean Technology : CT) หมายถึง การพัฒนา ปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตหรือผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การใช้วัตถุดิบ พลังงาน และทรัพยากรธรรมชาติเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดผลกระทบ ความเสี่ยงต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยการลดมลพิษที่แหล่งกำเนิด และมีของเสียเกิดขึ้นน้อยที่สุดหรือไม่มีเลย ด้วยการเปลี่ยนวัตถุดิบ การใช้ซ้ำและการนำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งเป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและลดต้นทุนการผลิตควบคู่กันไป
เทคโนโลยีการผลิตที่สะอาดเป็นหลักการป้องกันมลพิษ (Pollution Prevention) ที่ใช้หลักการลดของเสียเหลือน้อยที่สุด (Waste Minimization)โดยวิธีการแยกสารมลพิษที่เกิดจากกระบวนการผลิตทุกขั้นตอน ซึ่งประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตหรือการเปลี่ยนวัตถุดิบที่ทำให้เกิดผลพลอยได้ที่ไม่เป็นอันตราย รวมทั้งการลดปริมาณและความเข้มข้นขององค์ประกอบในของเสียด้วยการนำไปใช้ซ้ำ (Reuse) หรือการนำกลับไปใช้ใหม่ (Recycle) จนไม่สามารถนำของเสียไปใช้ประโยชน์ได้แล้ว ก็จะนำไปบำบัดให้ถูกต้องตามหลักวิชาการต่อไป โดยมีการดำเนินการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง นอกจากนี้ในการดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายได้นั้นยังต้องประกอบด้วยทัศนคติที่ดีและการร่วมมือกันอย่างเต็มที่จากบุคคลากรทุกฝ่ายอีกด้วย
จากที่กล่าวมาข้างต้น สามารถสรุปหลักการของเทคโนโลยีสะอาดได้ดังนี้
การลดมลพิษที่แหล่งกำเนิด แบ่งเป็น 2 แนวทางใหญ่ ๆ คือ การเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์ และ การเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิต
1.1 การเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์ (Product Reformulation) อาจทำได้โดยการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด หรือการออกแบบให้มีอายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์ได้นานขึ้น
การเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิต (Process Change) แบ่งได้ 3 กลุ่ม อันประกอบด้วย
การเปลี่ยนแปลงวัตถุดิบ (Input Material Change) โดยเลือกใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพ ลดหรือเลิกการใช้วัตถุดิบที่เป็นอันตราย เพื่อหลีกเลี่ยงการปนเปื้อนของสารอันตรายเข้าไปในกระบวนการผลิต และพยายามใช้วัตถุดิบที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้
การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี (Technology Improvement) เป็นการเพิ่มศักยภาพการผลิตหรือการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ได้แก่ การปรับปรุงแผนผังโรงงาน การเพิ่มระบบอัตโนมัติ การปรับปรุงเครื่องจักรและอุปกรณ์การผลิต รวมถึงการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ เพื่อก่อให้เกิดของเสียน้อยที่สุด
การปรับปรุงกระบวนการดำเนินงาน (Operation Management) เป็นการบริหารระบบการวางแผนและควบคุมการผลิต เพื่อเพิ่มศักยภาพของกระบวนการผลิต ให้สามารถลดต้นทุนในการผลิตและลดการก่อมลพิษทางสิ่งแวดล้อม โดยกำหนดให้มีขั้นตอนการผลิต กระบวนการทำงาน กระบวนการบำรุงรักษา รวมไปถึงการจัดการระบบ การบริหารงานในโรงงานอย่างชัดเจน
2.กระบวนการนำกลับมาใช้ใหม่ แบ่งออกได้ 2 แนวทางคือ
2.1 การใช้ผลิตภัณฑ์หมุนเวียน โดยการนำวัตถุดิบที่ไม่คุณภาพกลับมาใช้ประโยชน์ หรือ การใช้ประโยชน์จากสารหรือวัสดุที่ปนอยู่กับของเสีย โดยการนำมาใช้ในกระบวนการผลิตเดิม หรือ กระบวนการผลิตในขั้นตอนอื่น
2.2 การใช้เทคโนโลยีหมุนเวียน เป็นการนำเอาของเสียผ่านกระบวนการต่าง ๆ เพื่อนำทรัพยากรกลับมาใช้อีก
 แนวคิดของเทคโนโลยีสะอาด คือ การป้องกันมลพิษที่แหล่งกำเนิด และการลดปริมาณสารเคมีที่ใช้ให้น้อยที่สุด โดยทำได้ตามขั้นตอนที่เรียงลำดับความสำคัญจากมากไปน้อย ดังนี้

การลดที่แหล่งกำเนิด
การใช้หมุนเวียน
การบำบัด
การปล่อยทิ้ง

การดำเนินการตามหลักการของเทคโนโลยีสะอาด คือ จะเน้นการลดมลพิษที่ต้นกำเนิดมากกว่าการแก้ปัญหาที่ปลายทาง กล่าวคือ ลดปริมาณการใช้ทรัพยากรลง โดยใช้หลักการบริหารจัดการอย่างมีคุณภาพเพื่อให้เกิดของเสียน้อยที่สุด ของเสียที่เกิดขึ้น ต้องมีการนำกลับมาใช้ใหม่ เพื่อลดของเสียที่จะส่งไปสู่ขั้นตอนการบำบัดของเสียที่นำไปบำบัดผ่านกระบวนการที่มีประสิทธิภาพจึงสามารถปล่อยสู่สิ่งแวดล้อมได้
การประยุกต์ใช้หลักการเทคโนโลยีสะอาด ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ
1) การวางแผนและการจัดองค์กร (Planning and Organization)
2) การประเมินเบื้องต้น (Pre Assessment)
3) การประเมินผล (Assessment)
4) การศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility)
5) การลงมือปฏิบัติ (Implementation)
          หลังจากนำเทคโนโลยีสะอาดมาใช้ในภาคอุตสาหกรรม ต้องมีการวางแผนและจัดการ มีการสำรวจข้อมูล ทำการประเมินเบื้องต้น และทำการประเมินในขั้นตอนต่อมา โดยในขั้นตอนการประเมินเบื้องต้นจะเกี่ยวข้องกับการสร้างแผนภาพกระบวนการผลิต พิจารณาการป้อนเข้าและการจ่ายออกของวัตถุดิบ ของแต่ละหน่วยปฏิบัติการ จัดทำสมดุลมวลสาร ทำให้ทราบปริมาณของเสียที่เกิดขึ้นในแต่ละขั้น รวมทั้งทำให้สามารถวิเคราะห์สาเหตุการเกิดของเสียอันนำไปสู่กระบวนการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงเพื่อลดของเสียที่เกิดขึ้น โดยทางเลือกที่นำเสนอต้องมีความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์ ลงทุนไม่สูง และสามารถคืนทุนได้ในระยะสั้น เมื่อวิธีการทางสิ่งแวดล้อมสอดคล้องกับแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์จึงดำเนินการ และต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป
 1.2 ตัวอย่างภาคอุตสาหกรรมที่มีการนำเทคโนโลยีสะอาดมาใช้
บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) ทุ่มงบ    กว่า1,200 ล้านบาท เปิดตัวเทคโนโลยีสะอาด “หอเผาระบบปิดระดับพื้นดิน และระบบดูดกลับไอไฮโดรคาร์บอน”  เพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมและระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยนำร่องที่จังหวัดระยอง หวังให้เป็นอุตสาหกรรมนิเวศต้นแบบของไทย
นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีทีที โกบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ พีทีที จีซี เปิดเผยว่า ทาง พีทีที จีซี ได้ติดตาม และสอบถามปัญหาของชาวบ้านในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง เมื่อทราบถึงปัญหา จึงตัดสินใจสร้างหอเผาระบบปิด ด้วยงบประมาณกว่า 500 ล้านบาท ที่สามารถเผาไหม้ได้อย่างหมดจด ไม่มีเขม่าควันและแสง และมีผนังที่ดูดซับเสียงและความร้อน มองว่าการลงทุนครั้งนี้ เพื่อประโยชน์เชิงนิเวศ และเป็นจุดเริ่มต้นของอุตสาหกรรมสีเขียว
ครั้งนี้เป็นการเปิดดำเนินการหอเผาระบบปิดระดับพื้นดิน และระบบดูดกลับไอไฮโดรคาร์บอน นำร่องที่จังหวัดระยอง ด้วยงบประมานลงทุนกว่า 1,200 ล้านบาท เพื่อเป็นการนำเทคโนโลยีที่ได้มาตรฐานและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล มาใช้ในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีระบบควบคุมการทำงานอัตโนมัติตลอด 24 ชั่วโมง จึงมีความปลอดภัย และเป็นการส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทำให้ภาคอุตสาหกรรมกับชุมชนโดยรอบสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างกลมกลืน โดยถือว่าเป็นเทคโนโลยีสะอาดแห่งแรกในประเทศไทย และใหญ่ที่สุดในเอเชียด้วย



5W1H


   5W1 
หนึ่งในเครื่องมือที่ใช้มากที่สุดในระดับสากลสำหรับการรวบรวมข้อมูล,วิเคราะห์และการนำเสนอเป็นกรอบ 5W1H วิธีนี้จะใช้ในช่วงของกระบวนการนักวิเคราะห์วิศวกรที่มีคุณภาพที่จะเข้าใจและอธิบายความจริงปัญหาใด ๆ หรือปัญหาวิธีการเดียวกันสามารถที่ใช้ในการจัดระเบียบการเขียนของรายงานบทความเอกสารและแม้ทั้งหนังสือ
      
         วิธีการพื้นฐาน  วิธีการนี้พยายามที่จะตอบคำถามพื้นฐานในการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องใด ๆ ของ: ใครอะไรเมื่อไหร่ที่ไหนทำไมและวิธีการ บางครั้งขึ้นอยู่กับบริบทที่สอง"H"อย่างไร

- What.
       
คือเรื่องหลักของการรวบรวมข้อมูลเหตุผลและการนำเสนอ อาจจะเป็นที่ระบุไว้ในชื่อเรื่องและวัตถุประสงค์ อาจต้องจะกำหนดกระบวนการที่อาจประกอบด้วยส่วนที่เหลือของเอกสาร


- Who.
        
สิ่งแวดล้อมอื่นๆ คนหรือกลุ่มความกังวลมันอาจอธิบายเอกสารหรือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายการหรือขั้นตอน

- When.
        
หมายถึงเมื่อไหร่ในเวลาใดที่เกี่ยวข้อง มันอาจจะเป็นส่วนหนึ่งกับจุดที่เหมาะสมที่จะต้องดำเนินการ บางครั้งมันอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของสถานการณ์ของการกระทำตามเงื่อนไข

- Where.
        เหตุการณ์หรือกระบวนการนั้น เกิดขึ้นที่ไหนเมื่อไหร่ 
- Why.
       
เหตุใดถึงทำสิ่งนั้นหรือ เพราะเหตุใดถึงเกิดเหตุการณ์นั้นๆ อาจมีการพิจารณาที่ไม่เกี่ยวข้องอาจจะเกิดจากนโยบายหรือขั้นตอน

- How.
       
เหตุการณ์หรือสิ่งที่ทำนั้นเป็นอย่างไรบ้าง เมื่ออธิบายนโยบายกระบวนการหรืขั้นตอนอาจเป็นส่วนสำคัญที่สุด

- Conclusion.
        5W1H 
สามารถนำไปใช้หัวข้อใด ๆ เพื่อรวบรวมวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลจากข้อมูลที่ซับซ้อนทำให้เป็นข้อมูลง่าย

ตัวอย่างการออกแบบ

ตัวอย่างการออกแบบ
(การออกแบบเทคโนโลยี)
หากจะกล่าวถึงความก้าวหน้าของโทรคมนาคมในปัจจุบันนี้แล้ว ย่อมกล่าวได้ว่า โทรคมนาคมได้มีการพัฒนาให้ทันสมัยหรือทันต่อความเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลกอยู่ตลอดเวลา ทั้งนี้ ก็เนื่องจากความเจริญก้าวหน้าของโลกที่ได้เปลี่ยนเป็นโลกแบบโลกาภิวัฒน์ จึงทำให้การติดต่อสื่อสารระหว่างประเทศเป็นไปได้อย่างสะดวกและรวดเร็วขึ้น หรือกล่าวได้ว่าเป็นโลกที่ไร้พรมแดน ดังนั้น ผู้คนทั่วโลกจึงสามารถทำการติดต่อสื่อสารกันได้อย่างทั่วถึง รวมทั้งก่อให้เกิดความสัมพันธ์หรือความร่วมมือกันในระหว่างประเทศของแต่ละประเทศอีกด้วย
ความก้าวหน้าของโทรคมนาคมในปัจจุบันนี้ กล่าวได้ว่า เกิดขึ้นเพราะผลของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีความทันสมัยขึ้น ดังนั้น จึงก่อให้เกิดเครื่องมือสื่อสารหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการติดต่อกับผู้อื่นที่มีความทันสมัยและสอดคล้องกับสถานการณ์โลกในปัจจุบันขึ้น เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งสามารถทำการติดต่อสื่อสารกับผู้รับสารได้ทั้งภายในและนอกประเทศ รวมทั้งยังสามารถทำการติดต่อสื่อสารได้ในทุกที่ทุกเวลาอีกด้วย เพราะเครื่องมือสื่อสารดังกล่าวสามารถพกพาได้สะดวก ดังนั้น การติดต่อสื่อสารโดยใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ จึงมีความรวดเร็วกว่าการติดต่อสื่อสารในรูปแบบอื่น นอกจากนี้ มนุษย์เราก็ยังสามารถทำการติดต่อสื่อสารโดยใช้อินเตอร์เน็ทเข้ามาเป็นตัวช่วยในการติดต่อสื่อสารได้อีกด้วย แต่ทั้งนี้ การติดต่อสื่อสารโดยใช้อินเตอร์เน็ทนั้น ก็จำเป็นจะต้องใช้อุปกรณ์เสริมอื่นๆเข้ามาเสริมด้วย หรืออาจจะกล่าวได้ว่าเป็นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในรูปแบบของคอมพิวเตอร์ ซึ่งหมายถึง การใช้ความก้าวหน้าของคอมพิวเตอร์ในการติดต่อสื่อสารกับผู้รับสารจากทั้งในและนอกประเทศ โดยเราจะเห็นได้จากการ chat online โดยใช้โปรแกรมของอินเตอร์เน็ท เช่น msn, skype เป็นต้น และจากการติดต่อสื่อสารโดยใช้อินเตอร์เน็ทผ่านทางคอมพิวเตอร์นี้เอง ส่งผลให้ผู้ส่งสารและผู้รับสารสามารถทำการพูดคุยหรือเจรจากันพร้อมทั้งเห็นหน้าตาของกันและกันได้ เสมือนเป็นการเจรจาพบปะกันอย่างแท้จริง ซึ่งถือเป็นความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีความทันสมัยมากขึ้น แต่การติดต่อสื่อสารในรูปแบบดังกล่าว ก็จำเป็นจะต้องใช้อุปกรณ์อื่นๆเข้ามาช่วยเสริมให้สามารถทำการติดต่อสื่อสารได้อย่างสะดวกขึ้น เช่น การใช้ webcam หรือกล้องที่ใช้เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ เพื่อที่จะทำให้ผู้ส่งสารและผู้รับสารสามารถทำการติดต่อสื่อสารโดยเห็นหน้าของกันและกันได้ผ่านทาง webcam นอกจากนี้ การติดต่อสื่อสารโดยใช้คอมพิวเตอร์ ก็ยังสามารถทำให้ผู้ทำการติดต่อสื่อสารสามารถพูดคุยกันได้ เฉกเช่นเดียวกับการติดต่อสื่อสารโดยใช้โทรศัพท์ แต่ทั้งนี้ก็จะต้องมีการใช้ไมโครโฟนเข้ามาเป็นอุปกรณ์เสริมในการทำการติดต่อสื่อสารด้วยเช่นกัน และจากการใช้ไมโครโฟนในการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์พร้อมทั้งใช้โปรแกรมทางอินเตอร์เน็ทเข้ามาช่วยเสริมนั้น ก็จะทำให้สามารถทำการติดต่อสื่อสารกันโดยสามารถพูดคุยเจรจาเสมือนกับการติดต่อสื่อสารทางโทรศัพท์ได้ ดังนั้น เราอาจจะเห็นได้ว่า การติดต่อสื่อสารโดยใช้คอมพิวเตอร์นั้น สามารถทำให้ผู้ทำการติดต่อสื่อสารระหว่างกันสามารถพูดคุยหรือเจรจาเสมือนการใช้โทรศัพท์ได้ แต่ทั้งนี้ก็จำเป็นจะต้องกระทำผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ทด้วย นอกจากนี้ การติดต่อสื่อสารกันผ่านทางอินเตอร์เน็ทนั้นก็ยังมีข้อดีที่แตกต่างไปจากการใช้โทรศัพท์ นั่นก็คือ ทำให้ผู้ติดต่อสื่อสารระหว่างกันสามารถมองเห็นหน้าของกันและกันได้ ซึ่งถือเป็นการช่วยทำให้การติดต่อสื่อสารระหว่างกันนั้นเป็นไปได้อย่างสะดวกขึ้นด้วยเช่นกัน และจากการที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศอยู่ตลอดเวลา จึงส่งผลให้คอมพิวเตอร์มีการพัฒนาตามไปด้วย ดังนั้น จึงก่อให้เกิดคอมพิวเตอร์ในรูปแบบต่างๆ นอกเหนือไปจากคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะเพียงอย่างเดียว เช่น คอมพิวเตอร์แบบพกพา หรือที่รู้จักกันอย่างทั่วไปในวงกว้างว่าNotebook หรือ Laptop ซึ่งคอมพิวเตอร์ชนิดนี้ก็ได้มีการพัฒนาความทันสมัยหรือระบบการทำงานให้สอดคล้องเข้ากับสถานการณ์ของโลกอยู่ตลอดเวลา ทั้งนี้ ก็เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานให้แก่ผู้ใช้ นอกจากนี้ การใช้คอมพิวเตอร์แบบพกพาก็ยังช่วยทำให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปได้อย่างสะดวกขึ้นมากกว่าคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะอีกด้วย เนื่องจากว่าสามารถพกพานำติดตัวไปในที่ต่างๆได้ รวมไปถึงการที่ในปัจจุบันนี้ได้มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์แบบพกพาเป็นจำนวนมากขึ้น หรือกล่าวได้ว่าได้รับความนิยมมากกว่าการใช้คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้บริษัทต่างๆ พากันแข่งขันพัฒนาระบบการทำงานให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้นหรือช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้มากขึ้นด้วย นอกจากนั้นก็ยังมีการติดตั้งอุปกรณ์เสริมต่างๆของคอมพิวเตอร์แบบพกพามากขึ้น ซึ่งเราจะเห็นได้จากการที่คอมพิวเตอร์แบบพกพาในปัจจุบันนี้ได้มีการติดตั้งอุปกรณ์เสริมต่างๆ อยู่ภายในตัวเครื่องแล้ว เช่น ไมโครโฟน, webcam เป็นต้น นอกจากนี้ โปรแกรมต่างๆภายในคอมพิวเตอร์ก็ได้มีการพัฒนาให้เหมาะสมกับการทำงานของผู้ใช้เป็นส่วนใหญ่อีกด้วย รวมไปถึงได้มีการพัฒนาความเร็วในการเชื่อมโยงเครือข่ายอินเตอร์เน็ทให้เร็วยิ่งขึ้นด้วย

ดังนั้น เราจะเห็นได้ว่าการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบันนี้มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการใช้ชีวิตประจำวันของมนุษย์ และยิ่งในยุคของโลกาภิวัฒน์ซึ่งเป็นยุคที่โลกไร้พรมแดน สามารถทำการติดต่อกันได้อย่างทั่วถึง ไม่ว่าจะในด้านเศรษฐกิจ การเมือง รวมไปถึงด้านวัฒนธรรม จึงส่งผลให้เกิดการติดต่อสื่อสารระหว่างกันมากขึ้น ด้วยเหตุนี้เอง การใช้ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศจึงเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตประจำวันด้วย และนอกจากประโยชน์ในด้านการติดต่อสื่อสารแล้ว เทคโนโลยีสารสนเทศก็ยังมีความสำคัญต่อการทำงานของหน่วยงานหรือบริษัทบางบริษัทที่จะต้องใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงานอีกด้วย นอกจากนี้ ยังอาจรวมถึงประชาชนโดยทั่วไปที่จะต้องใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงานด้วย ไม่ว่าจะเป็นวัยเด็ก หรือวัยผู้ใหญ่ เช่น เด็กก็ใช้คอมพิวเตอร์ในการพิมพ์งานหรือว่าเล่นเกมส์ เป็นต้น ดังนั้น เราจะเห็นได้ว่าการใช้ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศกับการใช้ชีวิตประจำวันในปัจจุบันนี้นั้นไม่สามารถแยกออกจากกันได้เลย หรือกล่าวได้ว่ามีความเป็นไปได้ยากที่การใช้ชีวิตประจำวันของมนุษย์จะไม่มีความเกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเลย หรือถ้ามีก็อาจจะเป็นเพียงส่วนน้อย ดังนั้น การใช้ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศจึงต้องมีความเกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตประจำวันของมนุษย์อยู่ตลอดเวลา

การออกแบบ


  การออกแบบ  หมายถึง การถ่ายทอดรูปแบบจากความคิดออกมาเป็นผลงาน ที่ผู้อื่น 
สามารถมองเห็น รับรู้ หรือสัมผัสได้  เพื่อให้มีความเข้าใจในผลงานร่วมกัน
       
ความสำคัญของการออกแบบ มีอยู่หลายประการ กล่าวคือ
1.
ในแง่ของการวางแผนการการทำงาน งานออกแบบจะช่วยให้การทำงานเป็นไปตาม
  
ขั้นตอน อย่างเหมาะสม และประหยัดเวลา ดังนั้นอาจถือว่าการออกแบบ คือ การวาง
  
แผนการทำงานก็ได้
2.
ในแง่ของการนำเสนอผลงาน ผลงานออกแบบจะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องมีความเข้าใจ
   
ตรงกันอย่างชัดเจน  ดังนั้น ความสำคัญในด้านนี้ คือ เป็นสื่อความหมายเพื่อความเข้าใจ
   
ระหว่างกัน
3.
เป็นสิ่งที่อธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับงาน งานบางประเภทอาจมีรายละเอียดมากมาย
  
ซับซ้อน ผลงานออกแบบจะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้อง และผู้พบเห็นมีความเข้าใจที่ชัดเจนขึ้น
  
หรืออาจกล่าวได้ว่า ผลงานออกแบบ คือ ตัวแทนความคิดของผูออกแบบได้ทั้งหมด
4.
แบบ จะมีความสำคัญอย่างที่สุด ในกรณีที่ นักออกแบบกับผู้สร้างงานหรือผู้ผลิต 
   
เป็นคนละคนกัน เช่น สถาปนิกกับช่างก่อสร้าง  นักออกแบบกับผู้ผลิตในโรงงาน
   
หรือถ้าจะเปรียบไปแล้ว นักออกแบบก็เหมือนกับคนเขียนบทละครนั่นเอง

แบบ  เป็นผลงานจากการออกแบบ เป็นสิ่งที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์และฝีมือของ
นักออกแบบ แบบมีอยู่หลายลักษณะ ดังนี้ คือ
        1.
เป็นภาพวาดลายเส้น (drawing) ภาพระบายสี (Painting) ภาพถ่าย (Pictures)
หรือแบบร่าง (Sketch) แบบที่มีรายละเอียด (Draft) เช่น แบบก่อสร้าง   ภาพพิมพ์
(Printing) 
ฯลฯ ภาพต่าง ๆ ใช้แสดงรูปลักษณะของงาน หรือแสดงรายละเอียดต่าง ๆ 
เกี่ยวกับงาน ที่เป็น 2 มิติ
        2.
เป็นแบบจำลอง (Model) หรือของจริง เป็นแบบอีกประเภทหนึ่งที่ใช้แสดง
รายละเอียดของงานได้ชัดเจนกว่าภาพต่าง ๆ เนื่องจากมีลักษณะเป็น 3 มิติ ทำให้
สามารถเข้าใจในผลงานได้ดีกว่า นอกจากนี้ แบบจำลองบางประเภทยังใช้งานได้
เหมือนของจริงอีกด้วยจึงสมารถใช้ในการทดลอง และทดสอบการทำงาน เพื่อหา
ข้อบกพร่องได้
ประเภทของการออกแบบ
1. 
การออกแบบทางสถาปัตยกรรม (Architecture Design) เป็นการออกแบบเพื่อ
การก่อสร้าง สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ นักออกแบบสาขานี้ เรียกว่า สถาปนิก (Architect) ซึ่ง 
โดยทั่วไปจะต้องทำงานร่วมกับ วิศวกรและมัณฑนากร โดยสถาปนิก รับผิดชอบเกี่ยว
กับประโยชน์ใช้สอยและความงามของสิ่งก่อสร้าง งานทางสถาปัยตกรรมได้แก่
-
สถาปัตยกรรมทั่วไป เป็นการออกแบบสิ่งก่อสร้างทั่วไป เช่น อาคาร บ้านเรือน ร้านค้า  โบสถ์  วิหาร  ฯลฯ
-
สถาปัตยกรรมโครงสร้าง เป็นการออกแบบเฉพาะโครงสร้างหลักของอาคาร
-
สถาปัตยกรรมภายใน  เป็นการออกแบบที่ต่อเนื่องจากงานโครงสร้าง ที่เป็นส่วนประกอบของอาคาร
-
งานออกแบบภูมิทัศน์ เป็นการออกแบบที่มีบริเวณกว้างขวาง  เป็นการจัดบริเวณพื้นที่ต่าง ๆ
  
เพื่อให้เหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอยและความสวยงาม
-
งานออกแบบผังเมือง เป็นการออกแบบที่มีขนาดใหญ่ และมีองค์ประกอบซับซ้อน ซึ่งประกอบ
  
ไปด้วยกลุ่มอาคารจำนวนมาก ระบบภูมิทัศน์ ระบบสาธารณูปโภค ฯลฯ
2. การออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design) เป็นการออกแบบเพื่อการผลิต ผลิตภัณฑ์
ชนิดต่าง ๆงานออกแบบสาขานี้ มีขอบเขตกว้างขวางมากที่สุด และแบ่งออกได้มากมาย
หลาย ๆ ลักษณะ นักออกแบบรับผิดชอบเกี่ยวกับประโยชน์ใช้สอยและความสวยงามของ
ผลิตภัณฑ์  งานออกแบบประเภทนี้ได้แก่
-
งานออกแบบเฟอร์นิเจอร์
-
งานออกแบบครุภัณฑ์
-
งานออกแบบเครื่องสุขภัณฑ์
-
งานออกแบบเครื่องใช้สอยต่างๆ
-
งานออกแบบเครื่องประดับ  อัญมณี
-
งานออกแบบเครื่องแต่งกาย
-
งานออกแบบภาชนะบรรจุผลิตภัณฑ์
-
งานออกแบบผลิตเครื่องมือต่าง ๆ   ฯลฯ
3. การออกแบบทางวิศวกรรม (Engineering Design) เป็นการออกแบบเพื่อการผลิต
ผลิตภัณฑ์ชนิดต่าง ๆ เช่นเดียวกับการออกแบบผลิตภัณฑ์ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกัน ต้องใช้
ความรู้ความสามารถและเทคโนโลยีในการผลิตสูง ผู้ออกแบบคือ วิศวกร ซึ่งจะรับผิดชอบ
ในเรื่องของประโยชน์ใช้สอย ความปลอดภัยและ กรรมวิธีในการผลิต  บางอย่างต้องทำงาน
ร่วมกันกับนักออกแบบสาขาต่าง ๆ ด้วย งานอกแบบประเภทนี้ได้แก่ 
-
งานออกแบบเครื่องใช้ไฟฟ้า
-
งานออกแบบเครื่องยนต์
-
งานออกแบบเครื่องจักรกล
-
งานออกแบบเครื่องมือสื่อสาร
-
งานออกแบบอุปกณ์อิเลคทรอนิคส์ต่าง ๆ   ฯลฯ

4. การออกแบบตกแต่ง (Decorative Design) เป็นการออกแบบเพื่อการตกแต่งสิ่งต่าง ๆ
ให้สวยงามและเหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอยมากขึ้น นักออกแบบเรียนว่า มัณฑนากร
(Decorator) 
ซึ่งมักทำงานร่วมกับสถาปนิก งานออกแบบประเภทนี้ได้แก่
-
งานตกแต่งภายใน (Interior Design)
-
งานตกแต่งภายนอก  (Exterior Design)
-
งานจัดสวนและบริเวณ ( Landscape Design)
-
งานตกแต่งมุมแสดงสินค้า (Display)
-
การจัดนิทรรศการ (Exhibition)
-
การจัดบอร์ด 
-
การตกแต่งบนผิวหน้าของสิ่งต่าง ๆ เป็นต้น  ฯลฯ


5. 
การออกแบบสิ่งพิมพ์ (Graphic Design) เป็นการออกแบบเพื่อทางผลิตงานสิ่งพิมพ์
ชนิดต่าง ๆ ได้แก่ หนังสือ  หนังสือพิมพ์  โปสเตอร์  นามบัตร  บัตรต่าง ๆ  งานพิมพ์ลวดลายผ้า
งานพิมพ์ภาพลงบนสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ  งานออกแบบรูปสัญลักษณ์   เครื่องหมายการค้า  ฯลฯ